มารู้จักกองทุนกันเถอะ

ความเป็นมา

กระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้พิจารณาเห็นถึงความสำคัญอย่างยิ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับความเจริญเติบโตทางเศษรฐกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงเห็นสมควรกำหนดเป็นนโยบายสนับสนุนภาคเอกชน ในการพัฒนาการศึกษา และการพัฒนาฝีมือแรงงาน ในขณะเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาในสังคมด้วยการให้โอกาสแก่นักเรียน นักศึกษาที่ด้อยโอกาส จึงเห็นสมควรกำหนดเป็นนโยบายให้ภาครัฐบาลสนับสนุนทางการเงิน โดยการจัดตั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย จากนโยบายทั้งสองข้อดังกล่าวซึ่งสอดคล้อง และเกื้อหนุนกัน จึงเสนอเป็นมาตรการส่งเสริม 3 ประการ ได้แก่

  1. การสนับสนุนการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชน
  2. การสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานเอกชน
  3. การจัดตั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2538 คณะรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี) มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการจัดตั้ง “กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา” โดยมีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยเริ่มให้นักเรียน นักศึกษากู้ยืมได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 เป็นต้นมาบนพื้นฐานของหลักการดังนี้

  1. เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นแก่ผู้ที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย ซึ่งด้อยโอกาสทางการศึกษาอันจะมีส่วนสำคัญในการยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน และเป็นการสนองต่อนโยบายการกระจายรายได้
  2. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบการศึกษาทางด้านอุปสงค์ โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของประชาชนภาย หลังเมื่อรัฐเห็นความสำคัญของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามากขึ้น จึงได้ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541” ซึ่งส่งผลให้การดำเนินงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีความมั่นคงถาวรขึ้น

วัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

คือ เพื่อให้นักเรียนนิสิตหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้กู้ยืมเงินเพื่อ เป็นค่าเล่าเรียนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาและค่าใช้จ่ายที่จำ เป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนต้นไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบหรือนอกระบบจนถึงระดับปริญญาตรี