หลักเกณฑ์การกู้ยืม

หลักเกณฑ์การให้กู้ยืมเงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ปี 2560

หลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงิน ตาม “ประกาศคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา” เรื่อง “หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และคุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงิน” ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2551 นักเรียน/นักศึกษาผู้มีสิทธิขอกู้ยืมเงินจากกองทุนฯ ผู้กู้ยืมรายใหม่ และรายเก่า (ต่อเนื่อง) นอกจากเป็นผู้มี “สัญชาติไทย” แล้ว จะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
    1.1  ผู้ขอกู้ยืมรายเก่าตั้งแต่ปีการศึกษา 2541 ย้อนหลังไป ที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 300,000 บาท ต่อปี
    1.2  ผู้ขอกู้ยืมรายเก่าตั้งแต่ปีการศึกษา 2541 จนถึงปีการศึกษา 2550 ที่มีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 150,00 บาท ต่อปี
    1.3  ผู้ขอกู้ยืมตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 -2562  ที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 200,000 บาท ต่อปี
    1.4  ผู้ขอกู้ยืมตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาท ต่อปี
  2. รายได้ครอบครัว พิจารณาหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    2.1  รายได้รวมของนักเรียน/นักศึกษา ผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของบิดาและมารดา ในกรณีที่ บิดา มารดาเป็น ผู้ใช้อำนาจปกครอง
    2.2  รายได้รวมของนักเรียน/นักศึกษา ผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของผู้ปกครอง ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองที่มิใช่บิดา มารดา
    2.3  รายได้รวมของนักเรียน/นักศึกษา ผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของคู่สมรสในกรณีที่ผู้ขอกู้ยืมได้ทำการสมรส แล้ว
  3. เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถาบันการศึกษา และสำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. หรือ ปวส.หรือ มัธยมศึกษาปีที่ 6
  4. เป็นผู้ที่มีความประพฤติ ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาขั้นร้ายแรง หรือไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย เช่น หมกมุ่นในการพนัน เสพยาเสพติดให้โทษ ดื่มสุราเป็นอาจิณหรือเที่ยวเตร่ในสถานบันเทิงเริงรมย์เป็นอาจิณ เป็นต้น
  5. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหรือประกาศการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียนสถานศึกษา หรือสถานศึกษาที่อยู่ในสังกัดการควบคุม หรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงหรือส่วนราชการอื่นๆ รัฐวิสาหกิจ
  6. ไม่เคยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดๆ มาก่อน
  7. ไม่เป็นผู้ที่ทำงานประจำในระหว่างศึกษา
  8. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  9. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  10. ไม่เป็นหรือเคยเป็น ผู้ที่ผิดนัดชำระหนี้กองทุนเว้นแต่จะชำระหนี้ดังกล่าวครบถ้วนแล้ว
  11. อายุ ณ วันสมัครเรียน อายุไม่เกิน 30 ปี
  12. ทำกิจกรรมจิตอาสา 1 กิจกรรม ในปีการศึกษาก่อนที่มาสมัครเรียนหรือกู้ยืมนำส่งในวันยื่นเอกสารประกอบพิจารณาการกู้ยืม และทำกิจกรรมจิตอาสาในภาคการศึกษาถัดไปภาคการศึกษาละ 18 ชั่วโมง 
  13. ออมเงินวันละ 2 บาท เดือนละไม่ต่ำกว่า 60 บาท ตลอดจนสำเร็จการศึกษา เริ่มเดือนกรกฎาคมของปีที่เริ่มกู้ยืม

รูปแบบทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความขาดแคลนทางการเงิน สามารถกู้ยืมเงินทุนจากรัฐบาล และใช้คืนตามกำหนดระยะเวลา แบ่งลักษณะการกู้ยืมมี 3 แบบ ดังนี้

- นักศึกษากู้ยืมต่อเนื่องในสถาบัน คือ นักศึกษาที่เคยกู้ยืมกับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 ถึงก่อนปีปัจจุบัน และมีความประสงค์กู้ยืมต่อเนื่องในปีการศึกษาปัจจุบัน คุณสมบัติ คือ นักศึกษากู้ยืมต่อเนื่องในสถาบันสามารถกู้ยืมได้ทุกคนที่ยื่นกู้ยืมตามกำหนดเข้าประชุมตามกำหนด ส่งเอกสารตามกำหนด มีผลการเรียนดี และมีความประพฤติดี ไม่เคยรักษาสถานภาพในภาคเรียนที่เคยกู้ยืม

- นักศึกษากู้ยืมต่อเนื่องจากสถาบันอื่น คือ นักศึกษาที่เคยกู้ยืมจากโรงเรียน/สถาบันการศึกษา อื่น และมีความประสงค์กู้ยืมต่อเนื่องกับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตในปีการศึกษาปัจจุบันเป็นปีแรกกับมหาวิทยาลัย

- นักศึกษากู้ยืมรายใหม่ คือ นักศึกษาที่ไม่เคยกู้ยืมจากสถานศึกษาใด ๆ มาก่อน และมีความประสงค์จะขอกู้ยืมกับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตในปีการศึกษาปีปัจจุบันเป็นปีแรก

การกู้ยืมแบ่งเป็น 4 ลักษณะ  ดังนี้

เปิดให้กู้ยืมอยู่ในปัจจุบัน

ลักษณะที่ 1 ขาดแคลนทุนทรัพย์

ลักษณะที่ 2 สาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักของการผลิตกำลังคน และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

1. นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ขาดแคลนทุนทรัพย์ คือ รายได้ครอบครัวรวมกันแล้วไม่เกิน 360,000 บาท ต่อปี อายุผู้กู้ยืมไม่เกิน 30 ปี กู้ยืได้เฉพาะระดับปริญญาตรี 1. นักเรียน หรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคน และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ไม่จำกัดรายได้ครอบครัว อายุผู้กู้ยืมไม่เกิน 30 ปี กู้ยืมได้เฉพาะระดับปริญญาตรี
2. กู้ยืมค่าเล่าเรียนได้สูงสุดไม่เกินวงเงินที่กำหนดในแต่ละปีการศึกษา และกู้ยืมค่าครองชีพสูงสุด 3,000 บาทต่อเดือน 2. กู้ยืมค่าเล่าเรียนได้สูงสุดไม่เกินวงเงินที่กำหนดในแต่ละปีการศึกษา และกู้ยืมค่าครองชีพ (เฉพาะผู้กู้ยืมที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาท ต่อปี) กู้ยืมค่าครองชีพสูงสุด 3,000 บาทต่อเดือน

3. ระยะเวลาชำระหนี้ 15 ปี ปลอดดอกเบี้ย 2 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี

3. ระยะเวลาชำระหนี้ 15 ปี ปลอดดอกเบี้ย 2 ปี 
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี (ในขณะที่กู้ยืมรายได้ครอบครัวเกิน 360,000 บาทต่อปี)
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อปี (ในขณะที่กู้ยืมรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี)

 

ลักษณะที่ 3 สาขาวิชาขาดแคลนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ

ลักษณะที่ 4 เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ

เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่ นักเรียนหรือนักศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ

เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่ นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดี เพื่อสร้างความเป็นเลิศ

1. นักเรียน หรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่ขาดแคลนหรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ ไม่จำกัดรายได้ครอบครัว อายุผู้กู้ยืมไม่เกิน 30 ปี กู้ยืมได้เฉพาะระดับปริญญาตรี 1. นักเรียน หรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาเพื่อสร้างความเป็นเลิศ ไม่จำกัดรายได้ อายุผู้กู้ยืมไม่เกิน 35 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีผลการเรียนสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 
2. กู้ยืมค่าเล่าเรียนได้สูงสุดไม่เกินวงเงินที่กำหนดในแต่ละปีการศึกษา และกู้ยืมค่าครองชีพ (เฉพาะผู้กู้ยืมที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาท ต่อปี) กู้ยืมค่าครองชีพสูงสุด 3,000 บาทต่อเดือน 2. กู้ยืมค่าเล่าเรียนได้สูงสุดไม่เกินวงเงินที่กำหนดในแต่ละปีการศึกษา และกู้ยืมค่าครองชีพ (เฉพาะผู้กู้ยืมที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาท ต่อปี) กู้ยืมค่าครองชีพสูงสุด 3,000 บาทต่อเดือน
3. ระยะเวลาชำระหนี้ 15 ปี ปลอดดอกเบี้ย 2 ปี 
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี (ในขณะที่กู้ยืมรายได้ครอบครัวเกิน 360,000 บาทต่อปี)
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อปี (ในขณะที่กู้ยืมรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี)
3. ระยะเวลาชำระหนี้ 10 ปี ปลอดดอกเบี้ย 1 ปี 
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี (ในขณะที่กู้ยืมรายได้ครอบครัวเกิน 360,000 บาทต่อปี)
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อปี (ในขณะที่กู้ยืมรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี)

คณะสาขาที่สามารถกู้ยืมได้ (ข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน 2565)

คณะ

ลักษณะที่ 1

ลักษณะที่ 2

บริหารธุรกิจ

- การตลาด
- การจัดการการเงินและการลงทุน
- การจัดการสมัยใหม่
- การจัดการโลจิสติกส์
- การจัดการทรัพยากรมนุษย์
- การจัดการธุรกิจสมัยใหม่ (นานาชาติ)
- นวัตกรรมธุรกิจการค้าสมัยใหม่ 
- ธุรกิจดิจิทัล

- การบัญชี
 

นิติศาสตร์

- นิติศาสตร์

 

นิเทศศาสตร์

- สื่อสารการแสดงร่วมสมัย
- วิทยุโทรทัศน์และสื่อดิจิทัล

- สื่อสังคมออนไลน์และสารสนเทศดิจิทัล 
- การภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
- นวัตกรรมการสื่อสารและแบรนด์

วิศวกรรมศาสตร์


 

- วิศวกรรมอุตสาหการ*
- วิศวกรรมเครื่องกล*
   - นักบิน*
   - ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน*
- วิศวกรรมไฟฟ้า*
- วิศวกรรมโยธา*
- วิศวกรรมคอมพิวเตอร์*

สถาปัตยกรรมศาสตร์

 

- สถาปัตยกรรมศาสตร์
- ออกแบบสร้างสรรค์
- การออกแบบภายใน (ลักษณะที่ 3)
- การออกแบบนิเทศศิลป์ (ลักษณะที่ 3)

ศิลปศาสตร์

- การจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
- การจัดการโรงแรม 
- การจัดการท่องเที่ยว 
 

- การออกแบบแฟชั่น
- ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน

 

- ธุรกิจการบิน *
- Aviation Industry Management

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

- นวตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล

จิตวิทยา

- จิตวิทยา

-

วิทยาศาสตร์การกีฬา

- วิทยาศาสตร์การกีฬา
- การจัดการกีฬาและนันทนาการ

-

พยาบาลศาสตร์   - พยาบาลศาสตร์

* กลุ่ม 10 อุตสาหกรรม เมื่อเรียนจบปริญญาตรีแล้วจะได้ดอกเบี้ยอัตราพิเศษไม่เกิน 0.5% ต่อปี และได้ส่วนลดเงินต้น 30-50% ลดเงินต้น ลดดอกเบี้ย (เฉพาะผู้กู้ยืมในปีการศึกษา 2562 – 2566)  
 

 

วงเงินการกู้ยืม (ไม่เกินค่าใช้จ่ายจริงที่ลงทะเบียนเรียน)

กลุ่ม

ความขาดแคลน

วงเงิน

สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์

ไม่ขาดแคลน

50,000

สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์

ขาดแคลน

60,000

ศิลปกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์

 

70,000

วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

70,000

สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์

 

90,000

 

การตัดสิทธิ์ให้กู้ยืม สำหรับนักศึกษาเก่าในสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2567

1. พิจารณาตัดสิทธิการกู้ยืมในปีการศึกษาถัดไป เมื่อนักศึกษาแต่งกายไม่เรียบร้อย คือ นักศึกษาไม่สวมเสื้อในกางเกง หรือกระโปรง นักศึกษาสวมรองเท้าแตะ นักศึกษาสวมกางเกงยีนส์ นักศึกษาสวมกระโปรงสั้นกว่าระดับเข่า นักศึกษาสวมผ้าฮิญาบที่ไม่ใช่สีดำ สีกรมท่า และสีขาว ที่กล่าวมาอย่างใดอย่างหนึ่ง นับว่าเป็นการแต่งกายไม่เรียบร้อย 1 ครั้งนักศึกษาจะถูกตักเตือน หากตักเตือนเกิน 3 ครั้ง กองทุนจะให้นักศึกษาหาบทความเกี่ยวกับภัยอันตรายในสังคมจากการแต่งกาย จำนวน 1 บทความ หากยังมีการแต่งกายที่ไม่เรียบร้อยอีก กองทุนกู้ยืมจะเสนอเพื่อตัดสิทธิการกู้ยืมในปีการศึกษาถัดไป เหตุผลการตัดสิทธิ เป็นนโยบายการแต่งกายที่ถูกระเบียบ และไม่เป็นอันตรายต่อตัวนักศึกษา และเป็นการฝึกให้นักศึกษาอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์

2.  พิจารณาตัดสิทธิการกู้ยืมในปีการศึกษาถัดไป นักศึกษากู้ยืมผลการเรียนไม่ผ่านตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยของแต่ละภาคการศึกษา มีผลทำให้ไม่สามารถกู้ยืมต่อได้

3.  พิจารณาตัดสิทธิการกู้ยืมในปีการศึกษาถัดไป เมื่อนักศึกษากู้ยืม ไม่ทำกิจกรรมจิตอาสาให้ครบ 36 ชั่วโมง กำหนดการทำจิตอาสาในปีการศึกษา 2567 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 – มิถุนายน 2567 ซึ่งแบ่งเป็นกรณีการทำกิจกรรมจิตอาสาดังต่อไปนี้

     กรณีที่นักศึกษากู้ยืมในภาคเรียนที่ 2/2566 นักศึกษากลุ่มนี้ ได้ส่งกิจกรรมจิตอาสาเรียบร้อยแล้วจำนวน 18 ชั่วโมง ยังคงเหลือการส่งกิจกรรมจิตอาสาอีก 18 ชั่วโมงที่ให้ทำกิจกรรมในภาคเรียนที่ 1/2567

     กรณีที่นักศึกษากู้ยืมในภาคเรียนที่ 2/2566 แต่แจ้งว่าจะไม่กู้ยืมต่อในภาคเรียนที่ 1/2567 ทำให้นักศึกษากลุ่มนี้ไม่ส่งกิจกรรมจิตอาสา นักศึกษากลุ่มนี้ให้ทำกิจกรรมจิตอาสาในภาคเรียนที่ 1/2567 จำนวน 40 ชั่วโมง

     กรณีนักศึกษาไม่กู้ยืมภาคเรียนที่ 2/2566 นักศึกษากลุ่มนี้ให้ทำกิจกรรมจิตอาสาในภาคเรียนที่ 2/2566 จำนวน 36 ชั่วโมง

ในทุก ๆ กรณีนักศึกษาส่งกิจกรรมจิตอาสาให้เรียบร้อยก่อนการเซ็นแบบยืนยันภาคการศึกษาที่ 1/2567

4.  พิจารณาตัดสิทธิการกู้ยืมในปีการศึกษาถัดไป เมื่อนักศึกษากู้ยืม ไม่ออมเงินตามตารางการออมโดยกำหนดให้นักศึกษาออมเงินวันละ 2 บาท กองทุนกู้ยืมฯ จะทำการตรวจเงินออมของนักศึกษาก่อนการเซ็นแบบเบิกเงินของทุกภาคการศึกษา โดยการออมเงินนักศึกษาสามารถออมกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป หรือออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ กอช. (เอกสารแนบที่ 5)

5.  พิจารณาตัดสิทธิการกู้ยืมสำหรับนักศึกษาเริ่มกู้ยืมปีแรกกับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ไม่ทำ e-learning ตามหลักสูตรที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษากำหนด มีจำนวน 6 เรื่อง คือ

          1. วัย 20+ เริ่มต้นดี ชีวิตไม่มีติดลบ
          2. รู้ก่อนเป็นหนี้ จะได้ไม่รู้งี้ทีหลัง
          3. เป็นหนี้แล้ว จัดการยังไง
          4. เริ่มทำงาน “ซื้อหรือเช่าบ้าน” ดีกว่ากัน
          5. ก่อนซื้อรถคู่ใจ คิดแบบไหนใช่เลย
          6. วัยรุ่นแบบ “ของมันต้องมี” ไม่สร้างหนี้ แถมสร้างตัว

6. พิจารณาตัดสิทธิการกู้ยืมในปีการศึกษาถัดไป เมื่อนักศึกษากู้ยืมครบระยะเวลาตามหลักสูตร คือ นับจากรหัสนักศึกษา นักศึกษารหัสขึ้นต้นด้วย 63 เริ่มกู้ยืมปี 2563 เรียนหลักสูตร 4 ปี สามารถกู้ยืมได้ในปี 2563/2564/2565/2566 เท่านั้น ในปีการศึกษา 2567 จะไม่สามารถได้กู้ยืมตามปกติ แต่ทั้งนี้นักศึกษาสามารถทำเรื่องกู้ยืมเกินระยะเวลาหลักสูตรได้ โดยสำนักงานกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จะเป็นผู้พิจารณา โดยมีคุณสมบัติเบื้องต้นคือ ผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.00 เหลือหน่วยกิตที่จะกู้ยืมของเกินหลักสูตรไม่เกิน 36  หน่วยกิต ไม่เคยกู้ยืมจากสถานศึกษาอื่นในระดับอุดมศึกษามาก่อน หรือถ้าหากมีหน่วยกิตคงเหลือเกิน 36 หน่วยกิตต้องแนบเอกสารเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างละเอียด 
 

การชำระหนี้ คือ นักศึกษาติดต่อชำระหนี้คืนเมื่อหยุดการกู้ยืม หรือเลิกการศึกษา แล้วมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย 2 ปี คำว่า “ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย” คือ หากชำระภายใน 2 ปี ยอดเงินต้นที่ชำระจะไม่เสียดอกเบี้ย เมื่อถึงกำหนดชำระในปีที่ 3 เริ่มคิดดอกเบี้ยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 จากยอดเงินต้นที่คงเหลือยังไม่ชำระ