หลักเกณฑ์การกู้ยืม
หลักเกณฑ์การให้กู้ยืมเงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ปี 2560
หลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงิน ตาม “ประกาศคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา” เรื่อง “หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และคุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงิน” ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2551 นักเรียน/นักศึกษาผู้มีสิทธิขอกู้ยืมเงินจากกองทุนฯ ผู้กู้ยืมรายใหม่ และรายเก่า (ต่อเนื่อง) นอกจากเป็นผู้มี “สัญชาติไทย” แล้ว จะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
1.1 ผู้ขอกู้ยืมรายเก่าตั้งแต่ปีการศึกษา 2541 ย้อนหลังไป ที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 300,000 บาท ต่อปี
1.2 ผู้ขอกู้ยืมรายเก่าตั้งแต่ปีการศึกษา 2541 จนถึงปีการศึกษา 2550 ที่มีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 150,00 บาท ต่อปี
1.3 ผู้ขอกู้ยืมตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 -2562 ที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 200,000 บาท ต่อปี
1.4 ผู้ขอกู้ยืมตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาท ต่อปี - รายได้ครอบครัว พิจารณาหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
2.1 รายได้รวมของนักเรียน/นักศึกษา ผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของบิดาและมารดา ในกรณีที่ บิดา มารดาเป็น ผู้ใช้อำนาจปกครอง
2.2 รายได้รวมของนักเรียน/นักศึกษา ผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของผู้ปกครอง ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองที่มิใช่บิดา มารดา
2.3 รายได้รวมของนักเรียน/นักศึกษา ผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของคู่สมรสในกรณีที่ผู้ขอกู้ยืมได้ทำการสมรส แล้ว - เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถาบันการศึกษา และสำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. หรือ ปวส.หรือ มัธยมศึกษาปีที่ 6
- เป็นผู้ที่มีความประพฤติ ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาขั้นร้ายแรง หรือไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย เช่น หมกมุ่นในการพนัน เสพยาเสพติดให้โทษ ดื่มสุราเป็นอาจิณหรือเที่ยวเตร่ในสถานบันเทิงเริงรมย์เป็นอาจิณ เป็นต้น
- เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหรือประกาศการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียนสถานศึกษา หรือสถานศึกษาที่อยู่ในสังกัดการควบคุม หรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงหรือส่วนราชการอื่นๆ รัฐวิสาหกิจ
- ไม่เคยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดๆ มาก่อน
- ไม่เป็นผู้ที่ทำงานประจำในระหว่างศึกษา
- ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
- ไม่เป็นหรือเคยเป็น ผู้ที่ผิดนัดชำระหนี้กองทุนเว้นแต่จะชำระหนี้ดังกล่าวครบถ้วนแล้ว
- อายุ ณ วันสมัครเรียน อายุไม่เกิน 30 ปี
- ทำ e-learning 6 หลักสูตร ในปีการศึกษาก่อนที่มาสมัครเรียนหรือกู้ยืมนำส่งในวันยื่นเอกสารประกอบพิจารณาการกู้ยืม และทำกิจกรรมจิตอาสาในภาคการศึกษาถัดไปภาคการศึกษาละ 18 ชั่วโมง
- ออมเงินวันละ 2 บาท เดือนละไม่ต่ำกว่า 60 บาท ตลอดจนสำเร็จการศึกษา เริ่มเดือนกรกฎาคมของปีที่เริ่มกู้ยืม
รูปแบบทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความขาดแคลนทางการเงิน สามารถกู้ยืมเงินทุนจากรัฐบาล และใช้คืนตามกำหนดระยะเวลา แบ่งลักษณะการกู้ยืมมี 3 แบบ ดังนี้
- นักศึกษากู้ยืมต่อเนื่องในสถาบัน คือ นักศึกษาที่เคยกู้ยืมกับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 ถึงก่อนปีปัจจุบัน และมีความประสงค์กู้ยืมต่อเนื่องในปีการศึกษาปัจจุบัน คุณสมบัติ คือ นักศึกษากู้ยืมต่อเนื่องในสถาบันสามารถกู้ยืมได้ทุกคนที่ยื่นกู้ยืมตามกำหนดเข้าประชุมตามกำหนด ส่งเอกสารตามกำหนด มีผลการเรียนดี และมีความประพฤติดี ไม่เคยรักษาสถานภาพในภาคเรียนที่เคยกู้ยืม
- นักศึกษากู้ยืมต่อเนื่องจากสถาบันอื่น คือ นักศึกษาที่เคยกู้ยืมจากโรงเรียน/สถาบันการศึกษา อื่น และมีความประสงค์กู้ยืมต่อเนื่องกับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตในปีการศึกษาปัจจุบันเป็นปีแรกกับมหาวิทยาลัย
- นักศึกษากู้ยืมรายใหม่ คือ นักศึกษาที่ไม่เคยกู้ยืมจากสถานศึกษาใด ๆ มาก่อน และมีความประสงค์จะขอกู้ยืมกับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตในปีการศึกษาปีปัจจุบันเป็นปีแรก
การกู้ยืมแบ่งเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
เปิดให้กู้ยืมอยู่ในปัจจุบัน
ลักษณะที่ 1 ขาดแคลนทุนทรัพย์ |
ลักษณะที่ 2 สาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักของการผลิตกำลังคน และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ |
1. นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ขาดแคลนทุนทรัพย์ คือ รายได้ครอบครัวรวมกันแล้วไม่เกิน 360,000 บาท ต่อปี อายุผู้กู้ยืมไม่เกิน 30 ปี กู้ยืได้เฉพาะระดับปริญญาตรี | 1. นักเรียน หรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคน และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ไม่จำกัดรายได้ครอบครัว อายุผู้กู้ยืมไม่เกิน 30 ปี กู้ยืมได้เฉพาะระดับปริญญาตรี |
2. กู้ยืมค่าเล่าเรียนได้สูงสุดไม่เกินวงเงินที่กำหนดในแต่ละปีการศึกษา และกู้ยืมค่าครองชีพสูงสุด 3,000 บาทต่อเดือน | 2. กู้ยืมค่าเล่าเรียนได้สูงสุดไม่เกินวงเงินที่กำหนดในแต่ละปีการศึกษา และกู้ยืมค่าครองชีพ (เฉพาะผู้กู้ยืมที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาท ต่อปี) กู้ยืมค่าครองชีพสูงสุด 3,000 บาทต่อเดือน |
3. ระยะเวลาชำระหนี้ 15 ปี ปลอดดอกเบี้ย 2 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี |
3. ระยะเวลาชำระหนี้ 15 ปี ปลอดดอกเบี้ย 2 ปี |
ลักษณะที่ 3 สาขาวิชาขาดแคลนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ |
ลักษณะที่ 4 เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ |
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่ นักเรียนหรือนักศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ |
เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่ นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดี เพื่อสร้างความเป็นเลิศ |
1. นักเรียน หรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่ขาดแคลนหรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ ไม่จำกัดรายได้ครอบครัว อายุผู้กู้ยืมไม่เกิน 30 ปี กู้ยืมได้เฉพาะระดับปริญญาตรี | 1. นักเรียน หรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาเพื่อสร้างความเป็นเลิศ ไม่จำกัดรายได้ อายุผู้กู้ยืมไม่เกิน 35 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีผลการเรียนสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 |
2. กู้ยืมค่าเล่าเรียนได้สูงสุดไม่เกินวงเงินที่กำหนดในแต่ละปีการศึกษา และกู้ยืมค่าครองชีพ (เฉพาะผู้กู้ยืมที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาท ต่อปี) กู้ยืมค่าครองชีพสูงสุด 3,000 บาทต่อเดือน | 2. กู้ยืมค่าเล่าเรียนได้สูงสุดไม่เกินวงเงินที่กำหนดในแต่ละปีการศึกษา และกู้ยืมค่าครองชีพ (เฉพาะผู้กู้ยืมที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาท ต่อปี) กู้ยืมค่าครองชีพสูงสุด 3,000 บาทต่อเดือน |
3. ระยะเวลาชำระหนี้ 15 ปี ปลอดดอกเบี้ย 2 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี (ในขณะที่กู้ยืมรายได้ครอบครัวเกิน 360,000 บาทต่อปี) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อปี (ในขณะที่กู้ยืมรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี) |
3. ระยะเวลาชำระหนี้ 10 ปี ปลอดดอกเบี้ย 1 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี (ในขณะที่กู้ยืมรายได้ครอบครัวเกิน 360,000 บาทต่อปี) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อปี (ในขณะที่กู้ยืมรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี) |
คณะสาขาที่สามารถกู้ยืมได้ (ข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน 2567)
คณะ/สาขา วงเงินที่สามารถกู้ยืมต่อปีได้ตามลักษณะการกู้ยืม
คณะ/สาขา |
ลักษณะที่ 1 |
ลักษณะที่ 2 |
ลักษณะที่ 3 |
บริหารธุรกิจ |
|||
|
|
60,000 |
|
|
50,000 |
|
|
|
50,000 |
|
|
|
50,000 |
|
|
|
50,000 |
|
|
|
60,000 |
|
|
|
50,000 |
|
|
|
50,000 |
|
|
นิติศาสตร์ |
|||
|
60,000 |
|
|
นิเทศศาสตร์ |
|||
|
70,000 |
|
|
|
70,000 |
|
|
|
|
70,000 |
|
|
|
60,000 |
|
|
|
60,000 |
|
วิศวกรรมศาสตร์ |
|||
|
|
70,000 |
|
|
|
70,000 |
|
|
|
70,000 |
|
|
|
70,000 |
|
|
|
70,000 |
|
คณะ/สาขา วงเงินที่สามารถกู้ยืมต่อปีได้ตามลักษณะการกู้ยืม
คณะ/สาขา |
ลักษณะที่ 1 |
ลักษณะที่ 2 |
ลักษณะที่ 3 |
สถาปัตยกรรมศาสตร์ |
|||
|
|
70,000 |
|
|
|
|
70,000 |
|
|
70,000 |
|
|
|
70,000 |
|
ศิลปศาสตร์ |
|||
|
60,000 |
|
|
|
60,000 |
|
|
|
|
70,000 |
|
|
60,000 |
|
|
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
|||
|
|
70,000 |
|
จิตวิทยา |
|||
|
50,000 |
|
|
วิทยาศาสตร์การกีฬา |
|||
|
70,000 |
|
|
|
50,000 |
|
|
พยาบาลศาสตร์ |
|||
|
|
90,000 |
|
สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน |
|||
|
|
60,000 |
|
คณะ/สาขา วงเงินที่สามารถกู้ยืมต่อปีได้ตามลักษณะการกู้ยืม
คณะ/สาขา |
ลักษณะที่ 1 |
ลักษณะที่ 2 |
ลักษณะที่ 3 |
Undergraduate Programs |
|||
|
50,000 |
|
|
|
|
60,000 |
|
|
|
60,000 |
|
|
|
60,000 |
|
Thai for Foreigners Program |
|||
|
|
60,000 |
|
|
|
60,000 |
|
การตัดสิทธิ์ให้กู้ยืม สำหรับนักศึกษาเก่าในสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2567
1. พิจารณาตัดสิทธิการกู้ยืมในปีการศึกษาถัดไป เมื่อนักศึกษาแต่งกายไม่เรียบร้อย คือ นักศึกษาไม่สวมเสื้อในกางเกง หรือกระโปรง นักศึกษาสวมรองเท้าแตะ นักศึกษาสวมกางเกงยีนส์ นักศึกษาสวมกระโปรงสั้นกว่าระดับเข่า นักศึกษาสวมผ้าฮิญาบที่ไม่ใช่สีดำ สีกรมท่า และสีขาว ที่กล่าวมาอย่างใดอย่างหนึ่ง นับว่าเป็นการแต่งกายไม่เรียบร้อย 1 ครั้งนักศึกษาจะถูกตักเตือน หากตักเตือนเกิน 3 ครั้ง กองทุนจะให้นักศึกษาหาบทความเกี่ยวกับภัยอันตรายในสังคมจากการแต่งกาย จำนวน 1 บทความ หากยังมีการแต่งกายที่ไม่เรียบร้อยอีก กองทุนกู้ยืมจะเสนอเพื่อตัดสิทธิการกู้ยืมในปีการศึกษาถัดไป เหตุผลการตัดสิทธิ เป็นนโยบายการแต่งกายที่ถูกระเบียบ และไม่เป็นอันตรายต่อตัวนักศึกษา และเป็นการฝึกให้นักศึกษาอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์
2. พิจารณาตัดสิทธิการกู้ยืมในปีการศึกษาถัดไป นักศึกษากู้ยืมผลการเรียนไม่ผ่านตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยของแต่ละภาคการศึกษา มีผลทำให้ไม่สามารถกู้ยืมต่อได้
3. พิจารณาตัดสิทธิการกู้ยืมในปีการศึกษาถัดไป เมื่อนักศึกษากู้ยืม ไม่ทำกิจกรรมจิตอาสาให้ครบ 36 ชั่วโมง กำหนดการทำจิตอาสาในปีการศึกษา 2567 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 – มิถุนายน 2567 ซึ่งแบ่งเป็นกรณีการทำกิจกรรมจิตอาสาดังต่อไปนี้
กรณีที่นักศึกษากู้ยืมในภาคเรียนที่ 2/2566 นักศึกษากลุ่มนี้ ได้ส่งกิจกรรมจิตอาสาเรียบร้อยแล้วจำนวน 18 ชั่วโมง ยังคงเหลือการส่งกิจกรรมจิตอาสาอีก 18 ชั่วโมงที่ให้ทำกิจกรรมในภาคเรียนที่ 1/2567
กรณีที่นักศึกษากู้ยืมในภาคเรียนที่ 2/2566 แต่แจ้งว่าจะไม่กู้ยืมต่อในภาคเรียนที่ 1/2567 ทำให้นักศึกษากลุ่มนี้ไม่ส่งกิจกรรมจิตอาสา นักศึกษากลุ่มนี้ให้ทำกิจกรรมจิตอาสาในภาคเรียนที่ 1/2567 จำนวน 40 ชั่วโมง
กรณีนักศึกษาไม่กู้ยืมภาคเรียนที่ 2/2566 นักศึกษากลุ่มนี้ให้ทำกิจกรรมจิตอาสาในภาคเรียนที่ 2/2566 จำนวน 36 ชั่วโมง
ในทุก ๆ กรณีนักศึกษาส่งกิจกรรมจิตอาสาให้เรียบร้อยก่อนการเซ็นแบบยืนยันภาคการศึกษาที่ 1/2567
4. พิจารณาตัดสิทธิการกู้ยืมในปีการศึกษาถัดไป เมื่อนักศึกษากู้ยืม ไม่ออมเงินตามตารางการออมโดยกำหนดให้นักศึกษาออมเงินวันละ 2 บาท กองทุนกู้ยืมฯ จะทำการตรวจเงินออมของนักศึกษาก่อนการเซ็นแบบเบิกเงินของทุกภาคการศึกษา โดยการออมเงินนักศึกษาสามารถออมกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป หรือออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ กอช. (เอกสารแนบที่ 5)
5. พิจารณาตัดสิทธิการกู้ยืมสำหรับนักศึกษาเริ่มกู้ยืมปีแรกกับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ไม่ทำ e-learning ตามหลักสูตรที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษากำหนด มีจำนวน 6 เรื่อง คือ
1. วัย 20+ เริ่มต้นดี ชีวิตไม่มีติดลบ
2. รู้ก่อนเป็นหนี้ จะได้ไม่รู้งี้ทีหลัง
3. เป็นหนี้แล้ว จัดการยังไง
4. เริ่มทำงาน “ซื้อหรือเช่าบ้าน” ดีกว่ากัน
5. ก่อนซื้อรถคู่ใจ คิดแบบไหนใช่เลย
6. วัยรุ่นแบบ “ของมันต้องมี” ไม่สร้างหนี้ แถมสร้างตัว
6. พิจารณาตัดสิทธิการกู้ยืมในปีการศึกษาถัดไป เมื่อนักศึกษากู้ยืมครบระยะเวลาตามหลักสูตร คือ นับจากรหัสนักศึกษา นักศึกษารหัสขึ้นต้นด้วย 63 เริ่มกู้ยืมปี 2563 เรียนหลักสูตร 4 ปี สามารถกู้ยืมได้ในปี 2563/2564/2565/2566 เท่านั้น ในปีการศึกษา 2567 จะไม่สามารถได้กู้ยืมตามปกติ แต่ทั้งนี้นักศึกษาสามารถทำเรื่องกู้ยืมเกินระยะเวลาหลักสูตรได้ โดยสำนักงานกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จะเป็นผู้พิจารณา โดยมีคุณสมบัติเบื้องต้นคือ ผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.00 เหลือหน่วยกิตที่จะกู้ยืมของเกินหลักสูตรไม่เกิน 36 หน่วยกิต ไม่เคยกู้ยืมจากสถานศึกษาอื่นในระดับอุดมศึกษามาก่อน หรือถ้าหากมีหน่วยกิตคงเหลือเกิน 36 หน่วยกิตต้องแนบเอกสารเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างละเอียด
การชำระหนี้ คือ นักศึกษาติดต่อชำระหนี้คืนเมื่อหยุดการกู้ยืม หรือเลิกการศึกษา แล้วมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย 2 ปี คำว่า “ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย” คือ หากชำระภายใน 2 ปี ยอดเงินต้นที่ชำระจะไม่เสียดอกเบี้ย เมื่อถึงกำหนดชำระในปีที่ 3 เริ่มคิดดอกเบี้ยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 จากยอดเงินต้นที่คงเหลือยังไม่ชำระ